เพิ่ม Email Account
1. เปิด App Gmail
2. เข้าเมนู “การตั้งค่า”
3. ใส่ชื่อ Email แล้วกด “ตั้งค่าด้วยตนเอง”
4. เลือกตั้งค่าอีเมลแบบ “อื่นๆ”
เลือกการตั้งค่าแบบ POP หรือ Imap
1. เลือกการตั้งค่าเป็น POP หรือ IMAP
POP จะเป็นการ Coppy ข้อมูลจากเซิฟเวอร์มาเก็บไว้ที่ Client ที่เชื่อมต่ออยู่ โดยจะดึงมาแค่ Inbox เท่านั้น จะไม่สามารถดึงกล่อง Sent , Junk และ Delete ออกมากได้
- ข้อดี คือสามารถประหยัดพื้นที่บนเซิฟเวอร์ได้เมื่อทำการดึงข้อมูลจากเซิฟเวอร์มาเก็บไว้บน Client แล้วสามารถลบเมลบนเซิฟเวอร์เพื่อประหยัดพิ้นที่ได้ และหากเมลที่เผลอลบบน Client จะยังมีข้อมูลเมลอยู่บนเซิฟเวอร์ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าบน Client กำหนดเวลาหรือให้ลบเมลออกเมื่อดึงเมลจากเซิฟเวอร์มาแล้ว
- ข้อเสีย คือการส่งบน Clinet เมลจะไม่ได้ส่งไปเก็บบนเซิฟเวอร์ แต่จะเก็บไว้เฉพาะเครื่องที่ส่งเท่านั้น และจะไม่ดึงข้อมูลในกล่อง Sent , Junk และ Delete ออกมากได้
IMAP จะเป็น Sync เชื่อมต่อ Client กับเซิฟเวอร์ ข้อมูลที่แสดงอยู่ทุกอย่างจะเป็นข้อมูลที่อยู่บนเซิฟเวอร์ เมื่อทำการลบเมลบนมือถือจะทำการลบบนเซิฟเวอร์ด้วย เมื่อทำการลบเมลบนเซิฟเวอร์จะเป็นการลบเมลบนมือถือเหมือนกัน การกระทำทุกอย่างจะเป็นการกระทำโดยตรงบนเซิฟเวอร์
- ข้อดี คือไม่ว่าเราจะส่งเมลจากเครื่องไหนเครื่องอื่นๆที่เชื่อมต่อด้วย IMAP เหมือนกันจะเห็นเมลที่เราส่งจากเครื่องอื่นด้วย
- ข้อเสีย คือหากเราทำการเผลอลบเมลจะเป็นการลบบนเซิฟเวอร์ด้วย เมลนั้นจะถูกลบโดยถาวรไม่สามารถกู้คืนได้
2. ใส่ข้อมูลเซิฟเวอร์ขาเข้า
ชื่อผู้ใช้ = อีเมลที่จะเซ็ตให้ใช้งาน
รหัสผ่าน = รหัสผ่านของอีเมล
เซิฟเวอร์ = ชื่อเซิฟเวอร์อีเมล ขึ่นอยู่กับเซิฟเวอร์ที่ใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น mail.domain.com หรือเป็นชื่อเฉพาะของทางผู้ให้บริการ (สามารถถามทางผู้ให้บริการเมลเซิฟเวอร์ได้)
ของทาง Z ปัจจุบันจะมีทั้งหมด 10 ตัว
win01-mail.zth.netdesignhost.com
win02-mail.zth.netdesignhost.com
win03-mail.zth.netdesignhost.com
win04-mail.zth.netdesignhost.com
win05-mail.zth.netdesignhost.com
win01-mailpro.zth.netdesignhost.com
win02-mailpro.zth.netdesignhost.com
win03-mailpro.zth.netdesignhost.com
win04-mailpro.zth.netdesignhost.com
win05-mailpro.zth.netdesignhost.com
*สามารถเช็คชื่อเซิฟเวอร์ได้ผ่านเว็ป https://mxtoolbox.com/SuperTool.aspx/ ได้โดนกำหนดชื่อโดเมนและค้นหาด้วย MX Lookup
3. ใส่ข้อมูลเซิฟเวอร์ขาออก
กำหนดเหมือนเซิฟเวอร์ขาเข้า
ตั้งค่าความถี่ของการดึงเมลและการแจ้งเตือน
กำหนดเวลาให้ทำการดึงเมลจากเซิฟเวอร์ เมื่อเรียบร้อยแล้วให้กดถัดไปเป็นอันจบขั้นตอนการตั้งค่าเมล